วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

วิชา ระบบฐานข้อมูล

1.สรุปเนื้อหาหน่วยที่ 1
     ฐานข้อมูล (Database)
          ฐานข้อมูล  คือข้อมูลจำนวนมากที่มีการจัดเก็บไว้อย่างเป็นระเบียบในลักษณะของตาราง และข้อมูลแต่ละตารางที่มีอยู่นั้นต่างมีความสัมพันธ์กัน
     ระบบฐานข้อมูล (Database System)
          ระบบฐานข้อมูล คือ ระบบการจัดเก็บข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน เกี่ยวข้องเป็นเรื่องเดียวกัน โดยมีรูปแบบการจัดเก็บที่เป็นระเบียบแบบแผน  และจัดเก็บไว้ในที่เดียวกัน เช่น ข้อมูลพนักงาน ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลสินค้าคงคลัง และข้อมูลพนักงานขาย เป็นต้น
     ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System : DBMS)
          ระบบจัดการฐานข้อมูล คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการกำหนดลักษณะข้อมูลที่จะเก็บไว้ในฐานข้อมูลเพื่ออำนวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูล กำหนดผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ฐานข้อมูลได้ พร้อมกับกำหนดด้วยว่าให้ใช้ได้แบบใด เช่น ให้อ่านข้อมูลได้อย่างเดียว หรือให้แก้ไขข้อมูล ได้ด้วย
    ประโยชน์ในการใช้ระบบฐานข้อมูล
          เมื่อมีการนำระบบจัดการฐานข้อมูลมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูลแก้ไขปรับปรุงข้อมูล ค้นหาข้อมูล รวมทั้งกำหนดผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ฐานข้อมูล เป็นต้น ทไให้ฐานข้อมูลมีประโยชน์มากมาย ได้แก่
          1. ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล เมื่อมีข้อมูลของหน่วยงานซึ่งจัดเก็บไว้หลายที่ อาจมีข้อมูลใน ส่วนที่เหมือนกันหลายส่วน เช่น ฝ่ายบัญชี เก็บข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของพนักงาน และฝ่ายบุคคล เก็บข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของพนักงาน เมื่อน าคอมพิวเตอร์มาใช้จัดเก็บข้อมูลให้อยู่ในรูปของฐานข้อมูล จะทำให้ไม่เก็บข้อมูลซ้ าซ้อนกัน ซึ่งทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะสามารถเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องการได้ เป็นการประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บ และทำให้เกิดความรวดเร็วในการค้นหาและจัดเก็บข้อมูลอีกด้วย
          2. ทำให้เกิดความสอดคล้องของข้อมูล  ถ้ามีการแก้ชื่อ ถ้ามีการแก้ชื่อ ที่อยู่ ที่ฝ่ายบุคคล ชื่อและ ที่อยู่ที่ฝ่ายบัญชีก็จะถูกเปลี่ยนแปลงด้วย เนื่องจากฝ่ายบัญชีจะดึงข้อมูลชื่อและที่อยู่จากฝ่ายบุคคลมาใช้ ดังนั้นเมื่อมีการแก้ไขข้อมูลในที่ใดที่หนึ่ง ข้อมูลอีกที่หนึ่งก็จะถูกเปลี่ยนไปด้วย
          3. ควบคุมความถูกต้องของข้อมูล  ผู้บริหารระบบฐานข้อมูลสามารถกำหนดกฎเกณฑ์ในการนำ เข้าข้อมูล และระบบจัดการฐานข้อมูล จะคอยควบคุมให้มีการนำเข้าข้อมูลเป็นไปตามกฎเกณฑ์เพื่อให้มีความถูกต้อง
          4. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้  การเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน จะสามารถกำหนดรูป แบบที่แน่นอนได้ และแต่ละฝ่ายสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้เพราะเป็นมาตรฐานเดียวกัน เนื่องจากระบบการจัดการฐานข้อมูลสามารถจัดให้ผู้ใช้แต่ละคนเข้าใช้ข้อมูลในแฟ้มที่มีข้อมูลเดียวกันได้ในเวลาเดียวกัน เช่น ฝ่ายบุคคลและฝ่ายการเงิน สามารถที่จะใช้ข้อมูลจากแฟ้มประวัติพนักงานในระบบฐานข้อมูลได้พร้อมกัน
          5. มีความปลอดภัย การที่ข้อมูลมารวมอยู่ในที่เดียวกัน สามารถวางมาตรฐานในการแก้ไขและ ป้องกันได้ดีกว่า จึงไม่มีการรั่วไหลของข้อมูลไปสู่ผู้ไม่ควรรู้ และสามารถกำหนดรหัสผ่านเข้าใช้งานข้อมูลของผู้ใช้แต่ละราย โดยระบบการจัดการฐานข้อมูลจะทำการตรวจสอบสิทธิ์ในการท างานกับข้อมูล เช่น การเรียกดูข้อมูล การลบข้อมูล การปรับปรุงข้อมูล และการเพิ่มข้อมูลในแต่ละแฟ้มข้อมูล เป็นต้น
          6. ขจัดความขัดแย้งในการใช้ข้อมูลร่วมกัน ก่อนที่จะมีการจัดเก็บข้อมูล ต้องมีการตกลง รูปแบบการเก็บอย่างเป็นเอกฉันท์เสียก่อน ทำให้ไม่เสียเวลาในการพัฒนาระบบฐานข้อมูล
          7. ข้อมูลที่จัดเก็บมีความทันสมัย เมื่อข้อมูลในระบบฐานข้อมูลได้รับการดูแลปรับปรุงอย่าง ต่อเนื่อง ทำให้ข้อมูลที่จัดเก็บเป็นข้อมูลที่มีความทันสมัย ตรงกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน และตรงกับความต้องการอยู่เสมอ
           แต่อย่างไรก็ตาม ในการใช้ฐานข้อมูลนั้น ถึงแม้ว่าการประมวลผลด้วยระบบจัดการฐานข้อมูลจะมีข้อดีหลายประการ แต่ก็จะมีข้อเสียอยู่บ้างดังต่อไปนี้
          1. เสียค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากโปรแกรมที่ใช้ในระบบจัดการฐานข้อมูลจะมีราคาค่อนข้างแพง   รวมทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง คือต้องมีความเร็วสูง มีขนาดหน่วยความจำและหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่มีความจุมาก ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการจัดท าระบบจัดการฐานข้อมูล
          2. เกิดความสูญเสียข้อมูลได้ เนื่องจากข้อมูลต่าง ๆ ภายในฐานข้อมูลจะถูกจัดเก็บอยู่ในที่เดียว กัน ดังนั้นถ้ามีการจัดเก็บข้อมูลเกิดมีปัญหา อาจทำให้ต้องสูญเสียข้อมูลทั้งหมดในฐานข้อมูลได้ ดังนั้นการจัดทำฐานข้อมูลที่ดีจึงต้องมีการสำรองข้อมูลไว้เสมอ

2. ทำการวัดและประเมินผลผลการผ่านจุดประสงค์
ตอนที่ 1 แบบปรนัย
     1. ระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) คืออะไร
          ตอบ      ข.  ตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูล
     2.  หลังจากที่สร้างฐานข้อมูลแล้ว จะต้องสร้างออบเจ็กต์ใดเป็นอันดับแรก
          ตอบ      ก.  Table
     3.  ออบเจ็กต์ใดที่ทำหน้าที่การเก็บข้อมูลทั้งหมดลงฐานข้อมูล
          ตอบ      ข.  Query
     4.  ออบเจ็กต์ Query มีหน้าที่ทำอะไร
          ตอบ      ค.  สร้างแบบสอบถามข้อมูล
     5.  ข้อใดต่อไปนี้เป็นหน้าที่ของออบเจ็กต์ Form
          ตอบ      ข.  เก็บข้อมูลลงฐานข้อมูล
     6.  ข้อใดต่อไปนี้ ไม่ใช กฎของการ Normalization
          ตอบ      ข.  จะต้องมีความสัมพันธ์แบบเชิงกลุ่ม (Many-to-Many)
     7.  ข้อใด ไม่ใช่ ประโยชน์ที่ได้รับของระบบฐานข้อมูล
         ตอบ      ค.  ข้อมูลที่จัดเก็บมีความทันสมัย
     8.  ขั้นตอนใดต่อไปนี้เป็นขั้นตอนอรกในการออกแบบฐานข้อมูล
          ตอบ      ก.  กำหนดวัตถุประสงค์ในการใช้งาน
     9.  ส่วนประกอบต่อไปนี้เพิ่มเข้ามาใหม่ใน Access 2007 ยกเว้น ข้อใด
          ตอบ       ง.  Ribbon
     10. ข้อใดต่อไปนี้ กล่าวผิด
          ตอบ       ก.  เมื่อบันทึกฐานข้อมูลใน Access 2007 จะมีนามสกุล .accdb 
ตอนที่ 2   แบบจับคู่ คำชี้แจง ให้นักเรียนจับคู่คำต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1.  ช.  DBMS                             ก. แถบในการแสดงออบเจ็กต์ที่สร้างขึ้น 
2.  จ.  Normalization                   ข. แบบสอบถามข้อมูล    
3.  ซ.  Office Button                    ค. ส่วนของพื้นที่การทำงานของออบเจ็กต่าง ๆ
4.  ญ. Quick Access Toolbar       ง.  ชุดคำสั่งกระทำการต่าง ๆ ที่นำมารวมกัน   
5.  ฌ. Ribbon                              จ.  กฎที่ใช้ในการออบแบบตาราง
6.  ก.  Navigation Pane                ฉ. โปรแกรมย่อยที่เขียนขึ้นภาษา VBA
7.  ค.  Document Window           ช.  ระบบจัดการฐานข้อมูล
8.  ข.  Query                ซ.  ปุ่มที่รวบรวมชุดคำสั่งในการจัดการฐานข้อมูล
9.  ง.  Macro                ฌ.  ส่วนการทำงานใหม่ที่เข้ามาแทนที่แถบเมนูและ
                                           แถบเครื่องมือ
10. ฉ. Module              ญ.  แถบเครื่องมือที่รวบรวมปุ่มเครื่องมือที่ใช้งานบ่อย ๆ
                                          เอาไว้ 
ตอนที่ 3   แบบอัตนัย
คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
      
     1.  จงอธิบายถึงความหมายของฐานข้อมูล
           ฐานข้อมูล  (Database)  คือข้อมูลจำวนมากที่มีการจัดเก็บไว้อย่างเป็นระเบียบในลักษณะของตาราง และข้อมูลแต่ละตารางที่มีอยู่นั้นต่างมีความสัมพันธ์กัน ซึ่งในการสร้างตารางเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูล เป็นสิ่งที่ต้องทำป็นอันดับแรก หรือเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่จะต้องนำปใช้งานต่อไป
      2.  ระบบฐานข้อมูลมีประโยชน์อย่างไร           
            1.  ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล เมื่อมีข้อมูลของหน่วยงานซึ่งจัดเก็บไว้หลายที่ อาจมีข้อมูลใน ส่วนที่เหมือนกันหลายส่วน เช่น ฝ่ายบัญชี เก็บข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของพนักงาน และฝ่ายบุคคล เก็บข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของพนักงาน เมื่อนำคอมพิวเตอร์มาใช้จัดเก็บข้อมูลให้อยู่ในรูปของฐานข้อมูล จะทำห้ไม่เก็บข้อมูลซ้ำซ้อนกัน ซึ่งทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะสามารถเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องการได้ เป็นการประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บ และทำให้เกิดความรวดเร็วในการค้นหาและจัดเก็บข้อมูลอีกด้วย
            2.  ทำให้เกิดความสอดคล้องของข้อมูล ถ้ามีการแก้ชื่อ ถ้ามีการแก้ชื่อ ที่อยู่ ที่ฝ่ายบุคคล ชื่อและ ที่อยู่ที่ฝ่ายบัญชีก็จะถูกเปลี่ยนแปลงด้วย เนื่องจากฝ่ายบัญชีจะดึงข้อมูลชื่อและที่อยู่จากฝ่ายบุคคลมาใช้ ดังนั้นเมื่อมีการแก้ไขข้อมูลในที่ใดที่หนึ่ง ข้อมูลอีกที่หนึ่งก็จะถูกเปลี่ยนไปด้วย
            3.  ควบคุมความถูกต้องของข้อมูล ผู้บริหารระบบฐานข้อมูลสามารถกำหนดกฎเกณฑ์ในการนำ เข้าข้อมูล และระบบจัดการฐานข้อมูล จะคอยควบคุมให้มีการน าเข้าข้อมูลเป็นไปตามกฎเกณฑ์เพื่อให้มีความถูกต้อง
            4.  สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ การเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน จะสามารถกำหนดรูป
แบบที่แน่นอนได้ และแต่ละฝ่ายสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้เพราะเป็นมาตรฐานเดียวกัน เนื่องจากระบบการจัดการฐานข้อมูลสามารถจัดให้ผู้ใช้แต่ละคนเข้าใช้ข้อมูลในแฟ้มที่มีข้อมูลเดียวกันได้ในเวลาเดียวกัน เช่น ฝ่ายบุคคลและฝ่ายการเงิน สามารถที่จะใช้ข้อมูลจากแฟ้มประวัติพนักงานในระบบฐานข้อมูลได้พร้อมกัน
            5.  มีความปลอดภัย การที่ข้อมูลมารวมอยู่ในที่เดียวกัน สามารถวางมาตรฐานในการแก้ไขและ ป้องกันได้ดีกว่า จึงไม่มีการรั่วไหลของข้อมูลไปสู่ผู้ไม่ควรรู้ และสามารถก าหนดรหัสผ่านเข้าใช้งานข้อมูลของผู้ใช้แต่ละราย โดยระบบการจัดการฐานข้อมูลจะท าการตรวจสอบสิทธิ์ในการท างานกับข้อมูล เช่น การเรียกดูข้อมูล การลบข้อมูล การปรับปรุงข้อมูล และการเพิ่มข้อมูลในแต่ละแฟ้มข้อมูล เป็นต้น
            6.  ขจัดความขัดแย้งในการใช้ข้อมูลร่วมกัน ก่อนที่จะมีการจัดเก็บข้อมูล ต้องมีการตกลง
รูปแบบการเก็บอย่างเป็นเอกฉันท์เสียก่อน ท าให้ไม่เสียเวลาในการพัฒนาระบบฐานข้อมูล
            7.  ข้อมูลที่จัดเก็บมีความทันสมัย เมื่อข้อมูลในระบบฐานข้อมูลได้รับการดูแลปรับปรุงอย่าง ต่อเนื่อง ทำให้ข้อมูลที่จัดเก็บเป็นข้อมูลที่มีความทันสมัย ตรงกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน และตรงกับความต้องการอยู่เสมอ
      3.  ใน Microsoft Access 2007 ประกอบไปด้วยออบเจ็กต์อะไรบ้าง และมีหน้าที่อย่างไร 
            1.Table ใช้ในการเก็บข้อมูลทั้งหมด
            2.Queries ช่วยค้นหาหรือสร้างแบบสอบถามข้อมูล
            3.Froms แบบฟอร์มในการทำงาน สำหรับจัดการกับข้อมูลแทนการจัดการในตาราง
            4.Report ใช้ในการสร้างรายงาน
            5.Macros ชุดคำสั่งที่นำมาร่วมกันตามขั้นตอนในการทำงานเพื่อให้การทำงานเป็นอัตโนมัติ
            6.Modules ช่วยให้ทำงานกับข้อมูลที่ซับซ้อนมากขึ้นได้
      4.  จงอธิบายหลักการออกแบบฐานข้อมูลมาพอใจ
            ก่อนที่เราจะเริ่มสร้างฐานข้อมูลนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการออกแบบฐานข้อมูลเสียก่อน ว่าข้อมูลที่จะนำมาเก็บในฐานข้อมูลประกอบไปด้วยอะไรบ้าง และมีการจัดเก็บในรูปแบบใด แล้วค่อยเริ่มต้นสร้างฐานข้อมูล
      
      5.  จงยกตัวอย่างระบบงานที่ควรนำระบบฐานข้อมูลเข้ามาใช้ พร้อมทั้งอธิบายเหตุผล    
           งานทะเบียน เพราะว่าเป็นงานที่เกี่ยวกับประวัติของพนักงานหรือนักเรียนทั้งหมด ซึ่งมีข้อมูลต่างๆหลายอย่างมาเก็บข้อมูลไว้ได้ง่าย
แบบฝึกหัดบทที่ 4 การสร้างฟอร์ม (Form)
1. ความหมายของฟอร์ม (Form)
    ตอบ
 คือ  หน้าจอสำหรับติดต่อกับผู้ใช้งาน ที่สร้างขึ้นมาเพื่อนช่วยให้ผู้ใช้ทำงานกับข้อมูลในตารางได้สะดวกกว่าการใช้มุมมองแผ่นตารางข้อมูล (Datasheet View) และยังช่วยเพิ่มความสวยงามให้กับแอปพลิเคชั่นที่ได้สร้างขึ้นมาอีก
2. ประเภทของฟอร์มมีกี่แบบ อะไรบ้าง
ตอบ    มี 5 แบบ   คือ 
1.ฟอร์มแบบคอลัมน์ (Columnar Form) หรือฟอร์มเดี่ยว ซึ่งเป็นฟอร์มที่แสดงข้อมูล หนึ่งเรดคอร์ดต่อหนึ่งหน้าของฟอร์ม
2.ฟอร์มแบบตาราง(Tabular Form) เป็นฟอร์มที่แสดงข้อมูลทุกเรดคอร์ด
3.ฟอร์มแบบแผ่นตารางข้อมูล (Datasheet Form) เป็นฟอร์มที่แสดงทุกเรดคอร์ดในลักษณะแผ่นตาราง เช่นเดียวกับตาราง (Table)
4.ฟอร์มแบบตารางสรุปข้อมูลหลายมิติ(Pivot Table Form) เป็นฟอร์มที่ใช้แสดงข้อมูลหลายมิติหรือหลายฟิลด์ ทำให้สามารถดูข้อมูลได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น
5.ฟอร์มแบบแผนภูมิสรุปข้อมูลหลายมิติ(Pivot Chart Form) เป็นฟอร์มที่ใช้แสดงข้อมูลในลักษณะแผนภูมิ ซึ่งสามารถดูข้อมูลได้หลายฟิลด์ที่ต้องการ
3. มุมมองของฟอร์มมีกี่มุมมอง อะไรบ้าง
ตอบ        3 มุมมอง คือ
1.มุมมองเค้าโครง (Layout View) เป็นมุมมองใหม่ที่เพิ่มเข้ามาใน Access 2007 ซึ่งคล้ายกับมุมมองการออกแบบตรงที่สามารถจัดรูปแบบของฟอร์มได้ในบางส่วน เช่น การกำหนดสี ปรับขนาดอักษร ปรับขนาดฟิลด์ เป็นต้น แต่แสดงข้อมูลคล้ายในมุมมองฟอร์ม
2.มุมมองการออกแบบ (Design View) เป็นมุมมองสำหรับสร้างและออกแบบฟอร์ม
3.มุมมองฟอร์ม (Form View) เป็นมุมมองในการแสดงผลข้อมูลและใช้งานฟอร์ม ซึ่งไม่สามารถแก้ไขฟอร์มได้
4. เครื่องมือที่ใช้ในการจัดรูปแบบฟอร์มมีอะไรบ้าง
ตอบ       10 รูปแบบ คือ
        1. ปุ่ม Form (ฟอร์มแบบคอลัมน์) เป็นคำสั่งแสดงข้อมูลทีละ 1 เรคคอร์ด
        2. ปุ่ม Split Form (ฟอร์มแยก) สามารถเห็น 2 มุมมองในเวลาเดียวกัน คื
อมุมมองฟอร์มและมุมมองแผ่นตารางข้อมูล แสดงรายการของเรคคอร์ดทั้งหมด
        3. ปุ่ม Multiple Items (หลายรายการ) สร้างฟอร์มแบบตาราง
        4. ปุ่ม PivotChart เป็นการสร้างแผนภูมิ เพื่อสรุปผลข้อมูลแบบหลายมิติ
        5. ปุ่ม From Wizard (ฟอร์มเพิ่มเติม--
>ตัวช่วยสร้างฟอร์ม) ใช้เครื่องมือช่วยสร้าง

แบบฝึกหัด บทที่ 5
การสร้างรายงาน (REPORT)
ตอนที่ 1  แบบปรนัย
1.   ข้อใดต่อไปนี้ไม่ได้จัดอยู่ในประเภทของรายงาน
ตอบ        ง. Chat
2.   มุมมองของรายงานที่เพิ่มเข้ามาใหม่ใน Access 2007 คือมุมมองใด
ตอบ        ก. Layout View
3.  Page Footer คือส่วนใด
ตอบ         ค.ส่วนที่ต้องการแสดงผลข้อมูลให้ปรากฏอยู่ที่ส่วนท้ายของทุกๆหน้ารายงาน
4   หลังจากแทรกชื่อเรื่อง(Title)ของรายงานแล้ว จะแสดงพื้นที่ส่วนใดของรายงานให้อัตโนมัติ
ตอบ        ง.ถูกทุกข้อ
5.  ผลลัพธ์ในการสร้างรายงานแบบอัตโนมัติจะมีลักษณะของรายงานเป็นแบบใด
ตอบ        ง. Label
6.  ถ้าต้องการสร้างรายงานโดยให้มีการจัดกลุ่มของข้อมูลด้วย จะต้องสร้างรายงานด้วยวิธีใด
ตอบ         ง. ถูกทุกข้อ
7.  ถ้าต้องการสรุปข้อมูลในรายงานโดยให้แสดงอยู่ที่ส่วนท้ายสุดของรายงานจะต้องกำหนดที่ตำแหน่งใด
ตอบ         ข. Page Footer
8.  ในการป้อนข้อมูลสูตรฟังก์ชั่นจะต้องใช้เครื่องมือใด
ตอบ        ข. Text box
9.  ฟังก์ชั่นใดที่ใช้ในการหาค่าเฉลี่ยของข้อมูล
ตอบ        ง. Avg
10.  ข้อใดต่อไปนี้เป็นการเขียนสูตรฟังก์ชั่นในการหาผลรวมของฟิลด์เงินเดือน
ตอบ        ข.= Sum ([Salary])
ตอนที่ 2  จับคู่
1.      ฌ    Columnar Report                     ก.ส่วนในการแสดงฟิลด์ข้อมูลที่ดึงมาจากตาราง
2.      จ     Tabular Report                        ข.รายละเอียดในส่วนหัวรายงานที่แสดงในหน้าแรก
3.      ฉ     Label Report                           ค.แสดงเลขหน้าปัจจุบัน
4.      ญ    Page Header                           ง.รวมข้อมูลทั้งหมด
5.       ข   Report Header                        จ.แสดงข้อมูลทุกเรคอร์ดใน 1 หน้ารายงาน
6.       ก     Detail                                      ฉ.พิมพ์ป้ายฉลากติดซองจดหมาย
7.       ช    Pages                                      ช.แสดงเลขหน้าทั้งหมด
8.       ค    Page                                        ซ.แสดงข้อมูลโดยเรียงฟิลด์แต่ละเรคคอร์ดจากบนลงล่าง
9.      ง      Sum                                          ฌ.นับจำนวนทั้งหมด
10.    ซ     Count                                        ญ.รายละเอียดในส่วนหัวรายงานที่แสดงทุกหน้าของรายงาน

    ตอนที่ 3 แบบอัตนัย
1. การสร้างรายงานมีกี่แบบ อะไรบ้าง และแต่ละแบบมีประโยชน์อย่างไร
ตอบ   มี 3 แบบ คือ
   1. รายงานแบบคอลัมน์ (Columnar Report) เรียงฟิลด์แต่ละเรคคอร์ดจากบนลงล่างทีละ 1 เรคคอร์ด
   2. รายงานแบบตาราง (Tabular Report) แสดงแบบแถวและคอลัมน์ แสดงข้อมูลทุกเรคคอร์ดใน 1 หน้ารายงาน
      โดยเรียงจากซ้ายไปทางขวาของรายงาน
   3. รายงานแบบป้ายชื่อ (Label Report) สำหรับพิมพ์ป้ายฉลากต่าง ๆ เช่น ฉลากติดซองจดหมาย เป็นต้น
2.  จงบอกถึงส่วนประกอบของรายงาน และแต่ละส่วนมีหน้าที่อะไร
ตอบ       1.  Report Header คือ พื้นที่ในส่วนหัวของรายงาน เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงข้อความหรือรายละเอียดที่ต้องการแสดงในหน้าแรกของรายงานเท่านั้น เช่น โลโก้ของรายงาน แสดงชื่อรายงาน เป็นต้น
      2.Page Header คือ พื้นที่ในส่วนหัวของหน้ากระดาษ เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงข้อความหรือรายละเอียดที่ต้องการแสดงในทุกๆหน้าของรายงาน เช่น แสดงชื่อกำกับฟิลด์(รายงานแบบตาราง) แสดงเลขหน้าเป็นต้น
      3. Detail คือ พื้นที่ในการแสดงข้อมูลที่ดึงมาจากฐานข้อมูล ทั้งในตารางและในแบบสอบถามข้อมูล
      4. Page Footer คือ พื้นที่ในส่วนท้ายของกระดาษ เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงข้อความ
 หรือรายละเอียดที่ต้องการแสดงในทุกๆหน้าของรายงาน เช่น แสดงเลขหน้า เป็นต้น
       5. Report Footer คือ พื้นที่ในส่วนท้ายของรายงาน เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงข้อความหรือรายละเอียดที่ต้องการแสดงในหน้าสุดท้ายของรายงานเท่านั้น เช่น แสดงผลการคำนวณ แสดงวันที่จัดพิมพ์ เป็นต้น
        3.  จงอธิบายขั้นตอนการสร้างรายงานแบบ Report Wizard
         ตอบ    1. คลิกที่แท็บ Create
  2.คลิกเลือก Report Wizard ในกลุ่มของ Reports
  3.เลือกตารางหรือแบบสอบถามข้อมูลที่ต้องการนำมาสร้างรายงาน
 4.คลิกเลือกฟิลด์ที่ต้องการ แล้วคลิกปุ่ม > เพื่อเลือกทีละฟิลด์ หรือคลิกปุ่ม >> เพื่อนเลือกฟิลด์ทั้งหมด
 5.แล้วคลิกปุ่ม Next>
 6.เลือกข้อมูลที่ต้องการแสดงรายละเอียด
 7.แล้วคลิกปุ่ม Next>
 8.เลือกฟิลด์ที่ต้องการ แบ่งกลุ่มข้อมูล แล้วคลิกที่ปุ่ม >เพื่อเลือกฟิลด์
 9.แล้วคลิกปุ่ม Next>
 10.เลือกฟิลด์ที่ต้องการเรียงลำดับ ถ้าต้องการเรียงลำดับข้อมูลจากน้อยไปหามากให้คลิกที่ปุ่ม Ascendingและคลิกที่ปุ่มDescending  ถ้าต้องการเรียนจากมากไปหาน้อย
 11.แล้วคลิกปุ่ม Next>
 12. เลือกรูปแบบตำแหน่งการจัดวางรายงานที่ Layoutและที่Orientationเลือกแนวกระดาษเลือก Portraitสำหรับแนวตั้งและ Landscape สำหรับแนวนอน
 13.แล้วคลิกปุ่ม Next>
 14.เลือกสไตล์หรือรูปแบบรายงานที่ต้องการ
 15.แล้วคลิกปุ่ม Next>
 16.ตั้งชื่อรายงานที่ต้องการ และเลือกการแสดงผลรายงานในมุมมองตัวอย่างก่อนพิมพ์หรือมุมมองในการแก้ไขรายงาน
 17.แล้วคลิกปุ่ม Finish
       4.อธิบายขั้นตอนการสร้างรายงานแบบ Label Wizard
ตอบ  1. คลิกที่แท็บ Create
2.เลือกตารางหรือแบบสอบถามข้อมูลที่ต้องการนำมาสร้างเลเบล
3.คลิกที่ปุ่ม Labelsในกลุ่มของ Reports จากนั้นจะแสดงหน้าจอให้เลือกขนาดของเลเบล
4.เลือกขนาดของแถบที่ต้องการ ซึ่งถ้าหารต้องการกำหนดขนาดของเลเบลใหม่ให้คลิกที่ปุ่ม Customize แล้วกำหนดขนาดใหม่
5.แล้วคลิกปุ่ม Next>
6.กำหนดรูปแบบที่ต้องการแสดง
7.แล้วคลิกปุ่ม Next>
8.คลิกเลือกฟิลด์ที่ต้องการแสดงในเลเบล โดยคลิกปุ่ม > เพื่อเลือกข้อมูล ซึ่งถ้าหากต้องการเว้นวรรคในแต่ละฟิลด์ ให้กดปุ่ม Spacebar ที่แป้นพิมพ์ และถ้าต้องการขึ้นบรรทัดใหม่ก็สามารถกดปุ่ม Enterได้
9.แล้วคลิกปุ่ม Next>
10.เลือกฟิลด์ที่ต้องการเรียงลำดับข้อมูลใน เลเบล โดยคลิกปุ่ม > เพื่อเลือกฟิลด์ข้อมูล
11.แล้วคลิกปุ่ม Next>
12.ตั้งชื่อรายงานและเลือกการแสดงผล เลเบล ในมุมมองตัวอย่างก่อนพิมพ์หรือมุมมองในการแก้ไขเลเบล
13.แล้วคลิกปุ่ม Finish
5.จงบอกถึงข้อดีและข้อเสียของรายงานแบบอัตโนมัติ
ตอบ        ข้อดี                                        ข้อเสีย
                -สะดวกรวดเร็ว                      - ไม่สามารถแก้ไขข้อมูลในตารางได้ในขณะที่พิมพ์ออกมาได้แบบฟอร์ม
                -สามารถคำนวณข้อมูลได้
                -สามารถพิมพ์ออกมาได้

2 ความคิดเห็น:

  1. วิชาระบบฐานข้อมูล
    ตรวจแบบฝึกหัด ตอนที่ 1 แบบปรนัย ถูก 5 ข้อ
    ตอนที่ 2 แบบจับคู่ ถูกทุกข้อ

    ตอบลบ